วันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดสตูล ได้ทำการสำรวจสถานภาพปะการังบริเวณอุทยานแห่งหมู่เกาะเภตรา จังหวัดตรังและสตูล จำนวน 9 สถานี

Release Date : 23-12-2022 00:00:00
วันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดสตูล ได้ทำการสำรวจสถานภาพปะการังบริเวณอุทยานแห่งหมู่เกาะเภตรา จังหวัดตรังและสตูล จำนวน 9 สถานี

วันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดสตูล ได้ทำการสำรวจสถานภาพปะการังบริเวณอุทยานแห่งหมู่เกาะเภตรา จังหวัดตรังและสตูล จำนวน 9 สถานี ได้แก่
 
สถานีกองหินขาว สถานีเกาะบุโหลนเล (ด้านทิศตะวันออก) สถานีเกาะบุโหลนไม้ไผ่ (ด้านทิศเหนือ) สถานีเกาะบุโหลนไม้ไผ่ (ด้านทิศตะวันออก) สถานีเกาะลินัน สถานีเกาะลินเต๊ะ (อ่าวเทือก) สถานีเกาะเขาใหญ่ (ช่องขาด) สถานีเกาะบุโหลนดอน (ด้านทิศเหนือ) และสถานีเกาะบุโหลนดอน (ด้านทิศใต้)
 
โดยทำการเก็บข้อมูล สถานภาพปะการัง ปะการังวัยอ่อน โรคปะการัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชนิด เเละความชุกชุมของปลา และวัดคุณภาพน้ำทะเล เบื้องต้นพบว่า สถานภาพของปะการังมีความสมบูรณ์ดี ปะการังที่พบเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) และปะการังเขากวาง (Acropora sp.) โรคปะการังที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคจุดขาว (White spot) โรคจุดชมพู (Pink spot) และโรคด่างขาว (White patch) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเด่นที่พบ ได้แก่ หนอนท่อ (Tube worm) หอยมือเสือ (Giant clam) และทากเปลือย (Nudibranch) และพบกลุ่มปลาหลากหลาย ทั้งกลุ่มปลากินพืช คือ ปลาสลิดทะเลแถบ (Siganus javus) กลุ่มปลากินแพลงก์ตอน ได้แก่ ปลาสลิดหินเล็กหางขลิบดำ (Neopomacentrus filamentosus) กลุ่มปลากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลานกขุนทองเกล็ดด่าง (Halichoeres nigrescens) กลุ่มปลากินปลา ได้แก่ ปลากะพงเหลืองตาโต (Lutjanus lutjanus) กลุ่มปลากินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris)

รูปภาพที่เกียวข้อง
วันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดสตูล ได้ทำการสำรวจสถานภาพปะการังบริเวณอุทยานแห่งหมู่เกาะเภตรา จังหวัดตรังและสตูล จำนวน 9 สถานี
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง