ประเทศไทย มีปริมาณขยะไหลลงสู่ทะเลลดลงหลังนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25

Release Date : 01-10-2019 18:36:21
ประเทศไทย มีปริมาณขยะไหลลงสู่ทะเลลดลงหลังนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25

ประเทศไทย มีปริมาณขยะไหลลงสู่ทะเลลดลงเหลือประมาณ 21,700 - 32,600 ตันต่อปี หลังนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 โดยถุงพลาสติกยังพบถูกทิ้งในทะเลมากที่สุด

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปริมาณขยะทะเลของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2561 ขยะมีแนวโน้มถูกชะพัดพาลงสู่ทะเลลดลงเหลือประมาณ 21,700 - 32,600 ตันต่อปี จากเดิมปี 2559 ขยะมีแนวโน้มถูกชะพัดพาลงสู่ทะเลจำนวนมากประมาณ 33,900 - 51,000 ตันต่อปี เนื่องจากไทยได้นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 จากเดิมเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมจากการแตกตัวของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่ปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง จนกระทบห่วงโซ่อาหารและสุขภาพของมนุษย์ระยะยาวในปี 2561 รวม 26 พื้นที่ ใน 18 จังหวัดชายฝั่งทะเล พบ ในฤดูแล้งตะกอนทรายชายหาดมีไมโครพลาสติกนะแน่นเฉลี่ย 53 - 2,102 ชิ้นต่อตารางเมตร และในฤดูฝนตะกอนทรายชายหาดมีไมโครพลาสติกนะแน่นเฉลี่ย 0 - 974 ชิ้นต่อตารางเมตร ทั้งนี้ วันเก็บขยะชายหาดสากล (International Coastal Cleanup Day) ตรงกับวันที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้จัดกิจกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมาในพื้นที่ 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล ด้วยการเก็บขยะออกจากระบบนิเวศทางทะเลได้มากกว่า 230,000 ชิ้น น้ำหนักกว่า 10 ตัน ซึ่งขยะที่พบมากที่สุด คือ ขยะจากพลาสติกในรูปแบบต่างๆ จาก 5 อันดับแรกของขยะทะเลที่พบมากที่สุด คือ ถุงพลาสติก ร้อยละ 22 // ขวดพลาสติก ร้อยละ 16 // โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 9 // ขวดแก้ว ร้อยละ 5 และหลอดดูด ร้อยละ 5

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวย้ำว่า ปัจจุบันนี้สามารถเก็บรวบรวมขยะตกค้างในพื้นที่ชายฝั่งและหาดต่างๆใน 74 พื้นที่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล รวม 350,081 ชิ้น น้ำหนักรวม 32,834.68 กิโลกรัม หรือประมาณ 32.8 3 ตัน จากการรวบรวมและจำแนกประเภทขยะพบขยะตกค้างมากที่สุด คือ ถุงพลาสติก ร้อยละ 11.71 รองลงมาเป็นกล่องอาหารโฟม ห่อหรือถุงอาหาร